มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://www.oocities.org/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากนิตยสารแม่และเด็ก ปีที่ 21 ฉบับที่ 316 มิถุนายน 2541 ]

ของแถมที่ไม่อยากได้จากคอมพิวเตอร์

ชลลดา คิดประเสริฐ


การใช้เครื่องมือยุคไฮเทคสมัยนี้มีมากมายคงจะไม่พ้นเรื่องของคอมพิวเตอร์ ยิ่งในช่วงนี้ นิยมกันเหลือหลาย ก็คือการเข้าสู่อินเตอร์เนต (Internet) กันมาก ซึ่งคนที่เคยเข้าไปใช้ ก็จะได้รับประโยชน์ทั้งทางด้านการศึกษา การสื่อสาร ความสนุกสนานบันเทิง การเปิดหูเปิดตาไปสู่โลกกว้างขึ้น แต่บางคนก็ชอบเข้าไปดูความบันเทิงรื่นเริงใจ (ทางด้านลามก) ก็มีมากเหมือนกัน มีข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์บ่อย ๆ เลยว่า ภาพดารา ถูกตัดต่อหัว แล้วเอาไปลงในทางไม่ดี เสื่อมเสีย ต่อชื่อเสียงของพวกเค้า คนที่ชอบดู (ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย) ก็ชอบกันเหลือหลาย ดูได้ดูดี ในเรื่องพวกนี้ ในบ้านที่มีเด็ก หรือผู้ที่อยู่ในวัย ยังไม่เหมาะสม ท่านผู้ปกครองต้องคอยระวัง กวดขันเป็นพิเศษ ก็ลองคิดดูเอาแล้วกัน ว่าประโยชน์มีมาก จนกระทั่งท่านจะอดใจไหวหรือเปล่า ที่จะไม่ซื้อเจ้าอุปกรณ์สื่อสารบันเทิง ความรู้ที่รวมอยู่ในอุปกรณ์ตัวนี้ตัวเดียว ยิ่งปัจจุบันนี้ ได้ประโยชน์ตั้งแต่เด็กพอจะรู้เรื่อง หรือสนใจสิ่งที่อยู่ตรงหน้าบ้าง แล้วก็ จะมีโปรแกรม ที่ช่วยพัฒนาให้เด็กมีสมองที่ดีขึ้น เคยไหม… เวลาใช้คอมพิวเตอร์ จะเพลิดเพลินอยู่กับมัน จนไม่รู้ว่าขณะนี้ เป็นเวลาอะไร คือลืมกิน ลืมนอน เลยก็ว่าได้ อะไรก็ตาม ถ้ามีการใช้ อย่างไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี ก็มีโทษ ทั้งนั้น ไหน ๆ ก็คุยกันถึงเรื่องคอมพิวเตอร์ กันแล้ว ก็พูดถึงเรื่องคอมพิวเตอร์เลยดีกว่า เนื่องจากว่า เวลาท่านใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่แล้ว ใช้กันเป็นเวลานานนับชั่วโมง หรือหลายชั่วเลยทีเดียว

ตกใจไหมถ้าจะบอกว่าเวลาเราใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ เราจะได้รับการบาดเจ็บได้ บางท่านค้าน ก็ไม่ได้ไปทำอะไรที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ แล้วจะได้รับการบาดเจ็บได้อย่างไร แต่จริง ๆ แล้ว เกิดขึ้นได้ ก็เกิดจากการที่ท่านใช้นาน ๆ ใช้เป็นประจำนี่แหละ ซึ่งจะพบมากในบริเวณแขน
มือ (เกิดจากใช้คีย์บอด (Keyboard), เมาส์ (Mouse) ซึ่งป้องกันได้ง่าย แต่รักษายาก พบมากในวัยทำงาน
โรคที่พบได้แก่
  • - โรคที่มีการกดรัดของเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome)
  • - เส้นเอ็นอักเสบ (Tendinitis)
  • - เยื่อหุ้มเอ็นอักเสบ (Tenosylnovitis)
  • - Dequervain's Syndrome ซึ่งเป็นการอักเสบของเอ็น บริเวณข้อมือ ทางด้านนิ้วหัวแม่มือ
  • โรค Thoracic Outlet Syndrome ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาท บริเวณหน้าอกขณะที่หายใจเข้าจะเจ็บมาก

โรคเหล่านี้เกิดจากการบาดเจ็บหรือเกิดจากการที่เราทำกิจกรรมซ้ำ ๆ กันเป็นเวลานาน มีการบาดเจ็บทั้งตัวของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ เส้นประสาทหรือเนื้อเยื่อ อาการที่เราพบคือ มีการตึง เกิดความไม่สบายของการใช้งานที่มือ มีการติดขัดของข้อต่าง ๆ บริเวณข้อมือ นิ้วมือ บริเวณมือ แขนหรือแม้กระทั่งข้อศอกก็จะพบอาการเจ็บปวดได้ มีอาการชาหรือเย็นตามมือ พบว่ามีการอ่อนแรงที่มือ การทำงานประสานกันของมือลำบาก ตอนกลางคืนปวด บางคนบอกว่าถ้าเราได้นวดมือและแขนจะรู้สึกดีขึ้น

วิธีป้องกัน
1. รักษาท่าทางการทำงานที่ถูกต้อง
2. ออกกำลังกายเป็นประจำ
3. พักบ่อย ๆ
4. เลือกซื้ออุปกรณ์ที่ถูกสุขลักษณะ
5. จัดตั้งเครื่องมืออย่างถูกตำแหน่ง
6. สร้างอุปนิสัยที่ดีในการทำงาน

คำแนะนำ
เก้าอี้ - ความยาวเก้าอี้พอดีกับความยาวของต้นขาขนานกับพื้น
- ความสูงต้องเท่ากับความยาวของขา ไม่มีการกดบริเวณข้อพับของเข่า
- พนักพิงเวลานั่งต้องให้สะโพกติดพนักพิง
โต๊ะ - สูงพอดีเมื่อวางคีย์บอร์ด (Keyboard) ต้องต่ำจากข้อศอกเล็กน้อย
- ตั้งจอภาพให้อยู่ในแนวสายตา โดยคอตั้งตรง และระยะห่างพอเห็นชัด     ขณะทำงาน จะได้ไม่ต้องโน้มตัวไปมองจอภาพ
- ถ้าโต๊ะสูงเกินไป ให้วางคีย์บอร์ดบนตัก หรือเพิ่มความสูงเก้าอี้ แล้วหาที่วางรองบริเวณเท้า
คีย์บอร์ด - ควรวางให้เอียง (หรือยกให้สูงไปทางด้านหลังเล็กน้อย)
เมาส์ - วางคีย์บอร์ดอยู่ในระดับเดียวกันจะได้ไม่ต้องเอื้อมมือไปจับ

ขณะพิมพ์ไม่ควรวางข้อมือบนที่พัก (วางข้อมือราบไปกับโต๊ะ) เนื่องจากจะทำให้เกิดการกดทับ ของเส้นประสาทบริเวณข้อมือจากการที่เราพิมพ์งานนาน ๆ เวลากดแป้นพิมพ์ ควรใช้ทั้งแขน เมื่อหยุดพิมพ์ควรวางมือบนตักหรือข้างลำตัว ไม่ควรเอียงมือไปด้านข้าง (ทั้งด้านนิ้วหัวแม่มือ และทางด้านนิ้วก้อย) เมื่อมองจากด้านบนนิ้วมือ- มือ- แขน ควรอยู่ในแนวเส้นตรง

จากการวิจัยพบว่าควรปรับขอบหลังของ Keyboard ลงและควรหนุนให้สูงจากพื้น 1-2 นิ้ว เพื่อให้ Key ใกล้ต้ว

อย่าเคาะแป้น ควรใช้การพิมพ์สัมผัสเบา ๆ เมื่อต้องการกดแป้น 2 ตัวพร้อม ๆ กัน ควรใช้ 2 มือ เช่น Ctrl กับ C ถ้าต้องการกด Function (n) Key ใด ๆ ควรใช้ทั้งมือ ไม่ควรยืดนิ้วไป

วางแผนการทำงานก่อนที่จะเริ่มนั่งทำหน้าคอมพิวเตอร์
ตำแหน่งของ Mouse ควรวางใกล้ Keyboard ที่สุด จับ Mouse เบา ๆ อย่ากำแน่น ควรใช้ Mouse ให้น้อยที่สุดถ้าเป็นไปได้ควรใช้คำสั่งบนคีย์บอร์ดแทน

รักษาอุณหภูมิในห้องทำงานให้อบอุ่นพอเหมาะช่วยในการไหลเวียนเลือด การนั่งทำงานนาน ๆ เกิดการล้าของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อทำงานมากเกินไป เป็นผลให้การไหลเวียนเลือดไม่ดี การขับถ่ายของ เสียแย่ไปด้วย เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ เป็นผลให้เกิดการอ่อนแรง ของมือและแขน ทุก 2-3 นาทีควรพัก ทุก 1 ชม. ควรพักยาว ระหว่างนี้ควรยืดกล้ามเนื้อ
ท่ายืดกล้ามเนื้อเมื่อใช้คอมพิวเตอร์
  • ท่าที่ 1 ง้อนิ้วพร้อมกับกระดกข้อมือขึ้น
  • ท่าที่ 2 เหยียดนิ้วพร้อมกับกระดกข้อมือ
  • ท่าที่ 3 เกร็งยกไหล่ขึ้น
  • ท่าที่ 4 เอามือประสานไว้ที่ท้ายทอยยืดไหล่ออก
  • ท่าที่ 5 เอียงศีรษะไปด้านข้างทั้งสองด้านทั้งซ้ายและขวา
  • ท่าที่ 6 หมุนศีรษะไปทั้งด้านซ้ายและขวา
  • ท่าที่ 7 ก้มศีรษะไปด้านหน้าให้คางติดอก
  • ท่าที่ 8 เอามือแตะไหล่ตรงข้ามใช้มืออีกข้างดันศอกไปข้างหลัง
  • ท่าที่ 9 เอามือประสานกันยืดไปข้างหน้าให้สุด
  • ท่าที่ 10 เอามือประสานกันยืดไปข้างบนให้สุด
  • ท่าที่ 11 ยกแขนขึ้นแตะบริเวณด้านหลังของไหล่ตรงข้าม ใช้มืออีกข้าง กดศอกลง ทำทั้งสองด้าน (ซ้ายและขวา)
  • ท่าที่ 12 ใช้มือเท้ากำแพงยืดสะโพกไปด้านหน้า
แต่ละท่าทำท่าละ 2 ถึง 3 นาทีในขณะพัก ก็จะทำให้ท่านหรือผู้ที่ใช้คอมทั้งหลาย ปราศจากอาการ ปวดเมื่อย หรือโรคที่จะเกิดตามมาจากการใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ ลองนำไปใช้ดูจะเกิดประโยชน์อย่างมาก

ชลลดา คิดประเสริฐ


[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600