มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://www.oocities.org/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอกจากคลินิก มติชน หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับ 5 สิงหาคม 2541 ]

ยาเสื่อมคุณภาพ...อันตราย!

เรียบเรียงโดย เภสัชกร อารีย์ ตองเรียน
สำนักงานคลังยา โรงพยาบาลราชวิถี


เมื่อก้าวสู่เทศการเผาจริงในยุคเศรษฐกิจถดถอยเข้าไปมากเท่าไร ผมก็ยิ่งได้รับข่าว เลวร้ายที่เกิดขึ้นกับพี่น้อง เพื่อนฝูงร่วมสังคมไทยกับผมมากเท่านั้น และเรื่องหนึ่งที่ผมรู้สึกห่วงใยก็คือ เรื่องของการกินยา โดยเฉพาะ ในภาวะเช่นนี้ คนไทยนิยมซื้อยามากินกันเอง มากกว่าจะไปพบแพทย์ เพราะคิดเอาเองว่า น่าจะประหยัด กว่ากัน หลายเท่า ซึ่งคงจะจริง ถ้ากินยาแล้วหาย ไม่มีอันตราย หรือเกิดผลข้างเคียงขึ้นก่อน บางราย หนักไป กว่านั้น ไม่ซื้อยากินเอง แต่ใช้วิธีหายาเท่าที่มีอยู่ในบ้านกินพอประทังอาการ ไปเป็นครั้งคราว

ตรงนี้น่ากลัว ที่ว่าน่ากลัวเพราะยาทุกชนิด มีวันหมดอายุ ซึ่งนั่นก็หมายถึง ยานั้น หมดประสิทธิภาพ ในการ รักษาแล้ว เรียกว่าเสื่อมคุณภาพก็คงได้ ซึ่งนอกจากจะไม่มีผลอะไรในการทำให้โรคที่เป็นอยู่ หายได้ การกินยาเสื่อมคุณภาพยังอาจเป็นอันตราย ต่อสุขภาพอีกด้วย

ผมยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างเช่น ยาแก้ปวดแอสไพริน ซึ่งปกติ แพทย์มักให้กินหลังอาหารทันที เพื่อป้องกัน การระคายเคือง ต่อกระเพาะ อาหารอยู่แล้ว แต่ถ้ากินแอสไพรินเสื่อมคุณภาพ ซึ่งสังเกตได้จาก เมื่อดมแล้ว จะมีกลิ่นเหม็นฉุนคล้ายน้ำส้มสายชู และมีผลึก เป็นรูปเข็มเกาะตามเม็ดยา จะทำให้ระคายเคือง กระเพาะ อาหารอย่างรุนแรง หรือยาฆ่าเชื้อเตตตร้าไซคลิน เมื่อหมดอายุ จะมีผงยาเป็นสีน้ำตาล ถ้ากินเข้าไป จะมีพิษ ต่อไตอย่างมาก

วิธีที่จะสังเกตดูว่ายานั้นเสื่อมคุณภาพหรือยังก็คือ การอ่านวันหมดอายุของยาที่ฉลากยา ก่อนกินยา ยาส่วนใหญ่ มักจะระบุวัน เดือน ปี ที่หมดอายุ ไว้เป็นภาษาอังกฤษ เช่น Exp.Date 20/7/99 ซึ่งก็ หมายความว่า ยานั้นหมดอายุ วันที่ 20 เดือนกรกฎาคม 1999 หรือบางครั้ง ก็อาจจะมีคำว่า Use Before Aug 99 หมายความว่า ให้ใช้ยานี้ ก่อนเดือน สิงหาคม 19999 ถ้าแปลง ค.ศ. เป็น พ.ศ. แบบไทยๆเรา ก็ใช้ 543 บวกเข้าไป เช่น ค.ศ. 1999 เมื่อเทียบเป็น พ.ศ. 2542 อย่างนี้ เป็นต้น

กรณีที่ ฉลากยาไม่มีวันหมดอายุของยาแสดงไว้ ให้ใช้วิธีสังเกตดูที่ตัวยา เช่น มีการกกะเทาะ หรือเปลี่ยนสี ของเม็ดยา มีการบวมโป่งพอง ของยาแคปซูล มีตะกอนขุ่น สีเปลี่ยน มีกลิ่นบูดในยาน้ำ มีตะกอน จับตัว เป็นก้อนแข็ง เข่นขวดแล้ว ยายังกระจายตัวไม่ดีในน้ำยาแขวนตะกอน ต่างๆเหล่านี้ใช้เป็นข้อสังเกต ได้ว่า ยานั้นเสื่อมคุณภาพแล้ว นอกจากนี้ ยาประเภทเก่าเก็บ ไม่รู้ว่าได้มา ตั้งแต่เมื่อไร ก็อย่าเสียดาย โยนทิ้งไป เถอะครับ

เป็นความห่วงในเล็กๆ ที่ส่งมาให้กัน ในยามบ้านเมือง เกิดภาวะความจน แผ่กระจายไปถ้วนทั่ว ขอให้มี สุขภาพดี ทั้งกายและใจนะครับ


[BACK TO LISTS]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600