มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://www.oocities.org/Tokyo/Harbor/2093/
จำสั้นๆ i.am/thaidoc


ใช้ไม่ดี...ยานี้อันตราย

พญ.พรรณวดี วิโรจน์วงศ์

อาการเจ็บไข้บางอย่าง พ่อแม่สามารซื้อยามารักษาลูกเองได้ โดยไม่ต้องพาลูกไปหาหมอ จริงๆ แล้วการเจ็บป่วยหลายๆ อย่างกินยาก็หาย แต่ก็อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ ถ้าใช้ยาไม่ถูกต้อง การใช้ยากับลูกจึงต้องระวังเป็นพิเศษ

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของหมอพบว่า เด็กไทยไม่ถึง 2 ใน 3 ที่ได้รับยาถูกต้องครบถ้วน ซึ่งสาเหตุของเรื่องนี้มีหลากหลายค่ะ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ หรือคนเลี้ยงเด็ก เช่น พี่เลี้ยง ปู่ย่าตายายขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการใช้ยา ก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้ยา จนในบางครั้งถึงแก่ชีวิตได้

ตัวอย่างการให้ยาผิดที่พบได้บ่อยๆ จนทำให้เกิดพิษในเด็กๆ มักเป็นยาพื้นๆ ที่เราใช้กันทั่วไป ได้แก่ ยาลดไข้ แอสไพริน พาราเซตามอล ยากันชักฟิโนบาร์บ ยาโล่งจมูก ยาลดน้ำมูก ยาแก้อาเจียน ยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก ยาขยายหลอดลม ซึ่งเป็นยาพื้นๆ ที่หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยาทั้งนั้น มาดูตัวอย่างของปัญหาที่เกิดกันคะ

ยา

  • ยาแอสไพริน

ในต่างจังหวัดมีการใช้ยานี้อย่างแพร่หลาย เพราะอยู่ในรูปยาผง ยาซอง ยาเม็ด และราคาถูก เมื่อลูกมีอาการไข้ก็มักซื้อให้ลูกกิน ซองละ 1 บาท ปัญหาคือ บางครั้งไข้สูงมาก บางโรคกินยาลดไข้แล้วไข้ไม่ค่อยลง ปกติหมอจะแนะนำให้เช็ดตัวลูกมากๆ เพราะการเช็ดตัวจะลดความร้อนได้เร็ว

ปัญหา การกินยาลดไข้จะช่วยทำให้ไข้ไม่ขึ้นอีก ยาลดไข้ปกติเราจะให้ซ้ำได้ทุก 4-6 ชม.จะไม่ให้เร็วกว่านั้น บางครั้งไม่ทันใจเมื่อคนเลี้ยงเห็นไข้ไม่ลงก็ให้ยาซ้ำ ให้ยาถี่เกินไปจนถึงระดับที่เป็นพิษ ยาจะไปทำลายตับและสมองถึงแก่ชีวิตได้ ในปัจจุบันนี้หลังจากได้ประชาสัมพันธ์ให้ระวังอันตรายเหล่านี้ มีการใช้ยานี้น้อยลง และใช้อย่างระมัดระวังขึ้น ปัญหาการเกิดพิษจากยานี้จึงพบได้น้อยลง

  • ยาพาราเซตามอล

เป็นยาที่ทุกคนรู้จักดี เชื่อว่าไม่มีคุณพ่อคุณแม่คนไหน ไม่เคยใช้ยานี้ ยาพาราเซตามอลมีข้อดีที่ไม่กัดกระเพาะ และไม่มีปัญหาต่อเกล็ดเลือดอย่างแอสไพริน ทำให้เราใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ยาตัวนี้ก็มีพิษร้ายแรงนะคะ ถ้าใช้อย่างไม่ถูกต้อง เพราะขนาดของยาที่ใช้ลดไข้ และขนาดยาที่ทำให้เกิดพิษนั้นห่างกันไม่มาก ดังนั้นเขามักจะเขียนคำเตือนไว้ข้างกล่องว่า "ห้ามใช้ติดต่อกันนานเกิน 5 วัน เพราะจะมีอันตรายต่อตับได้" พิษของพาราเซตามอลจะมีต่อตับ คือทำให้ตับวาย ทำให้เสียชีวิตเชียวนะคะ

ปัญหา ปัญหาของยาตัวนี้ที่พบคือ ยามีหลายรูปแบบ ทั้งเป็นเม็ด น้ำเชื่อม ยาหยดหรือยาน้ำแขวนตะกอน ซึ่งมีขนาดและการใช้ต่างกัน
ยาหยดทั่วๆ ไปจะให้ 0.1 ซี.ซี.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่ยาน้ำเชื่อมจะให้ 5 ซี.ซี.ต่อน้ำหนักตัว 12 กิโลกรัม ดังนั้นเด็กที่หนัก 12 กิโลกรัม ถ้าให้ยาน้ำเชื่อม จะให้กิน 1 ช้อนชา (5 ซี.ซี.) แต่ถ้าให้กินยาหยดจะให้เพียง 1.2 ซี.ซี.
ตรงนี้คือปัญหาค่ะ พ่อแม่บางคนไม่คุ้นกับยารูปแบบหยด แทนที่จะให้ยาเป็น ซี.ซี.ตามที่ฉลากเขียนไว้ว่าให้ครั้งละ 1 ซี.ซี. ทุก 4-6 ชั่วโมง ก็ไม่อ่านหรืออ่านไม่ดี ไม่ได้สังเกตว่า ขวดยามีขนาดเล็กกว่ายาน้ำเชื่อม กลับให้ยาครั้งละ 1 ข้อนขา หรือ 5 ซี.ซี. เท่ายาน้ำเชื่อม เด็กจะได้รับยาเกินเป็น 5 เท่า ถ้าให้กินติดต่อกัน 2 มื้อ ยาอาจจะถึงระดับที่เป็นพิษได้ค่ะ
ระยะแรกที่มีการใช้ยาหยดใหม่ๆ มีเด็กเสียชีวิตด้วยเหตุนี้หลายคน แม้จะรักษาด้วยการถ่ายเลือด ให้ยาแก้พิษแล้วก็ไม่ทันค่ะ เกิดตับวายเฉียบพลันไปเลย ดังนั้นเวลาอธิบายการใช้ยา ให้คนเลี้ยงลูกต้องอธิบายให้ชัดเจนเอาหลอดยามาชี้ให้ดู พูดและทำให้ดูหลายๆ ครั้ง จนเข้าใจ เพื่อไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมได้ค่ะ

  • ยาเม็ดบำรุงเลือดหรือยาเฟอรัสซัลเฟต

คุณแม่จะได้ยานี้จากโรงพยาบาลขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด มักจะมีสีน้ำตาลเหมือนขนมช็อกโกแลตเคลือบน้ำตาล

ปัญหา เด็กๆ มักชอบแอบกินยานี้ เพราะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นขนม ทำให้เกิดพิษจากธาตุเหล็ก มีผลต่อตับและกระเพาะจนอาจทำให้เสียชีวิตได้

  • ยาแก้อักเสบ

สำหรับอาการติดเชื้อแบคทีเรีย ไม่แนะนำให้ซื้อรับประทานเอง เพราะการติดเชื้อหลายอย่างไม่จำเป็นต้องใช้ยาแก้อักเสบ โดยเฉพาะหวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัส โรคหลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบส่วนใหญ่ก็เกิดจากเชื้อไวรัส

ปัญหา การกินยาแก้อักเสบโดยไม่จำเป็น ไม่ถูกขนาด และไม่นานพอ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เชื้อดื้อยา ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่บ้านเรากำลังเผชิญอยู่

เรื่องนี้ต้องใส่ใจ

  • ขนาดของยาหรือการตวงยา

ต้องใช้หลอดหยด ช้อนตวง หรือถ้วยตวงยา ตามขนาดมาตรฐานที่ร้านขายยาหรือยาหมอให้มา อย่าใช้ช้อนที่มีอยู่ตามบ้าน เพราะจะได้ขนาดยาไม่ถูกต้อง เช่น ช้อนกาแฟที่เราใช้ชงกาแฟตามบ้าน มีปริมาตรเพียงประมาณ 3 ซี.ซี.เท่านั้น ถ้าใช้ช้อนนี้ตวงยาโดยคิดว่า เท่ากับ 1 ช้อนชา ก็จะได้ยาขนาดน้อยกว่าขนาดที่ต้องการ (เพราะ 1 ช้อนชาเท่ากับ 5 ซี.ซี) ทำให้การรักษาไม่ได้ผล (1 ซี.ซี.เท่ากับ 1 มิลลิลิตรค่ะ) อย่าลืมนะคะ ต้องดูขนาดยาให้ถูกต้องก่อนให้ยาทุกครั้งค่ะ

  • จำนวนครั้งที่กินยา

ต้องอ่านให้ละเอียดอย่าใช้ความคุ้นเคยเป็นหลักเพราะยายุคนี้ บางตัวกินเพียงวันละครั้งเท่านั้น หมอเจอปัญหาบ่อยๆ เพราะคุณพ่อคุณแม่ มักจะคุ้นกับการให้ยาวันละ 3 เวลา หากไม่อ่านฉลากยาให้ดี ลูกจะกินยาถี่กว่าที่ควรและจะได้ยาเกินขนาด ซึ่งอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้นะคะ

  • เวลากินยา

ยาบางชนิดดูดซึมได้ดีถ้ากินพร้อมอาหารหรือหลังอาหาร ยาพวกนี้ควรกินหลังอาหารอย่างน้อย 15 นาที ยาบางชนิดดูดซึมได้ดีตอนท้องว่าง ต้องกินก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง แต่ยาหลายๆ ตัว เราจะให้กินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ทั้งนั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่แน่ใจ ควรถามเภสัชกรหรือแพทย์ที่จ่ายยาให้ เช่น ถ้าไม่สะดวกที่จะป้อนยาหลังอาหารจะป้อนให้ก่อนอาหารได้มั้ย เพราะยาบางชนิดจำเป็นต้องกินตามเวลา ที่ระบุไว้อย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้ผลดีที่สุด

  • การเก็บรักษา

ยาบางตัวจำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็นตลอด มิฉะนั้นยาจะเสื่อม ยาฆ่าเชื้อบางตัวไวต่อความร้อนมาก แม้อยู่ในห้องปรับอากาศ ก็ยังเปลี่ยนสีได้ในเวลาไม่นานค่ะ ถ้ายาเสื่อมแล้ว ลูกกินไปก็ไม่ได้ผล ยาบางชนิดไม่ต้องเอาเข้าตู้เย็น เช่น ยาพาราเซตามอล ถ้าเอาเข้าตู้เย็นอาจจะตกผลึก เสียได้ ยาที่อยู่นอกตู้เย็นควรเก็บ ในที่ที่ไม่ร้อนและไม่ถูกแสง
ถ้ายาหมดอายุจะต้องทิ้งนะคะ ยาที่เก่ามากๆ ถ้าเอามาใช้อาจจะเป็นพิษได้ บางตัวพิษร้ายแรงทำให้ไตวายได้ค่ะ ยาหยอดตาเก็บไว้ได้นานประมาณ 1 เดือน แล้วต้องทิ้ง เพราะความเป็นกรดเป็นด่างของยาจะเปลี่ยนไป เมื่อนำมาใช้จะระคายเคืองตา หรือทำให้มีการติดเชื้อเพิ่มได้
ข้อสำคัญที่สุดคือต้องเก็บยาไว้ให้พ้นมือเด็ก เพราะเมื่อไรที่เด็กหยิบยามากินเองได้ มีโอกาสเกิดอันตรายได้ทั้งนั้นค่ะ

  • วิธีใช้ยา

ยามีหลายรูปแบบ มีทั้งยากิน ยาเหน็บ เราต้องดูให้ดีนะคะ ยาเหน็บทวารก็ต้องใช้เหน็บ อย่าเอาไปกินนะคะ เพราะการเตรียมยาแตกต่างกันค่ะ เวลาจะใช้ยาน้ำแขวนตะกอน อย่าลืมเขย่าขวดก่อนรินยานะคะ

  • ระยะเวลาใช้ยา

ต้องถามเภสัชกรให้ทราบแน่ว่ายาแต่ละชนิดใช้นานเท่าไร และผลข้างเคียงของยาว่ามีอะไรบ้าง และถ้ามีอาการผิดปกติใดๆ เช่น เกิดผื่นคัน ลมพิษ หน้ามืด ใจสั่น ต้องหยุดยาทันที แล้วรีบพบแพทย์ พร้อมกับนำยาที่ใช้อยู่ไปด้วยนะคะ

อาการแบบนี้...ใช้ยาอะไรดี

อาการ ยาที่ใช้ ข้อควรระวัง
เป็นไข้หรือปวด ไข้ในเด็กดูได้จากการวัดปรอท ถ้าวัดปรอททางปาก เราถืออุณหภูมิสูงกว่า 37.8 องศาเซลเซียส เป็นไข้ ถ้าวัดทางรักแร้ได้เท่าไหร่ให้บวกอีก 0.5 องศาเซลเซียส เช่น วัดทางรักแร้ได้ 37.3 องศาเซลเซียส ก็เทียบเท่ากับวัดทางปาก 37.8 องศาเซลเซียส










- พาราเซตามอล
- แอสไพริน
- ไอบูโปรเฟน (เช่น ยาชื่อ จูนิเฟน บรูซิล เทเฟน ฯลฯ)















- ขนาดที่ใช้ตามข้างกล่อง ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 5 วัน เพราะอาจมีพิษต่อตับ อย่างที่บอกแล้ว
- ห้ามใช้ในกรณีที่อาจเป็นสุกใส ไข้หวัดใหญ่ หรือไข้เลือดออก เพราะอาจเกิดโรค Reye's syndrome ทำให้สมองบวม และตับวายเสียชีวิตได้ แอสไพรินทำให้เกล็ดเลือดทำงานไม่ดี เลือดออกมากเวลาเป็นไข้เลือดออก และระคายเคืองกระเพาะ ทำให้เลือดออก ในกระเพาะอาหารได้
- ยาลดไข้นี้ให้ใช้ในเด็กอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป อย่าให้ตอนท้องว่าง เพราะระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ ไม่ควรใช้ในกรณีที่สงสัยว่า จะเป็นไข้เลือดออก เรามักใช้เฉพาะกรณีที่มีไข้สูงเท่านั้น
คลื่นไส้ อาเจียน ควรเป็นอาการอาเจียนเล็กน้อย อาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย แต่ต้องไม่มีอาการอาการขาดน้ำ ได้แก่ ปากแห้ง กระหม่อมบุ๋ม ซึม หายใจเร็ว ถ้ามีอาการเหล่านี้ หรืออาเจียนนานกว่า 1 วัน ควรปรึกษาแพทย์
- ไดเมนไฮดริเนต (ดรามามีน, กราวอล, ไดมีโน ฯลฯ)
- คอมเปอริโดน (โมติเลี่ยม, โมติด้อม ฯลฯ)




- ยาตัวนี้ทำให้ง่วงได้ อาจมีอาการปากแห้ง ให้ลูกจิบน้ำบ่อยๆ ยานี้อาจใช้เป็นยาแก้เมารถ เมาเรือได้
- ยาตัวนี้ไม่ทำให้ง่วงซึม ใช้ได้แม่ในเด็กเล็ก แต่ถ้าใช้กับเด็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบ อาจมีผลต่อระบบประสาทบ้าง ควรให้น้ำเกลือแร่ร่วมด้วย เพื่อชดเชยเกลือและน้ำที่เสียไป

ท้องเสีย ควรเป็นท้องเสียที่ถ่ายไม่เป็นมูกเลือด ถ่ายเป็นน้ำมาก และไม่มีอาการขาดน้ำ อย่างที่กล่าวแล้ว ส่วนใหญ่อาการท้องเสียในเด็ก มักหายไปได้เอง โดยไม่ต้องใช้ยาในเด็กเล็กๆ จะไม่ใช้ยาหยุดถ่าย เพราะอาจจะมีอันตราย ถึงขั้นเสียชีวิตได้
- ดื่มน้ำเกลือแร่โอ.อาร์.เอส





- บางกรณี การใช้นมผงดัดแปลงย่อยง่าย สำหรับเด็กท้องเสียชั่วคราว ในช่วงที่ท้องเสีย อาจช่วยให้อาการท้องเสียหายได้ โดยไม่ต้องพบแพทย์ ค่ะ




ท้องอืด ต้องเป็นอาการท้องอืด ที่ไม่มีอาการอาเจียนร่วมด้วย เพราะอาจะเป็นอาการลำไส้อุดตัน ซึ่งต้องปรึกษาแพทย์ค่ะ

- ซิมเมทธิโคน (โอวอล, ไมลอม, แอร์เอ๊กซ์ ฯลฯ)
- ยาทิงเจอร์คาร์มิเนตีฟ ยาธาตุ
- เป็นยาช่วยทำให้ ลมในทางเดินอาหาร กระจายเป็นเม็ดขนาดเล็กๆ ช่วยลดอาการท้องอืด
ไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ




- เด๊กซ์โตรเมทธอร์แฟน (โรมิลาร์)




- ห้ามใช้ในคนไข้หอบหืด หรือปอดบวม ใช้เพื่อลดการระคายเคืองในคอ ห้ามใช้ถ้ามีเสมหะ เพราะอาจทำให้เสมหะมาก จนเป็นปอดบวมได้ และไม่ใช้นานเกิน 2-3 วัน เป็นยาที่ควรใช้กับเด็กเล็ก
ไอมีเสมหะ







- ไกวเฟนิซิน (โรบิสทุสซิน)
- แอมบร็อกซอล (มิวโคแซลแวน มิวโคลิก)
- บรอมเฮกซีน (ไบโววอล ไดซอล)
- คาร์โบซิสเตอิน (ไรนาไทออล เฟลมเม็กซ์)
- ควรให้ลูกดื่มน้ำมากๆ เพราะน้ำจะช่วยละลายเสมหะ ให้ขับออกง่ายขึ้น แต่ถ้าไอมากกว่า 3-4 วัน ควรปรึกษาแพทย์



น้ำมูกไหล ควรเป็นน้ำมูกใสๆ ไม่มีสีเขียว









- น้ำเกลือหยอดจมูก ช่วยละลายน้ำมูกที่เหนียวข้น และช่วยทำให้เยื่อบุจมูกชุ่มชื้น หรืออาจช่วยดูดน้ำมูกลูกด้วยลูกยางแดง สำหรับลูกเล็กที่ไม่ต้องการ ให้ใช้ยาลดน้ำมูก
- ยาลดน้ำมูก ร่วมกับยาช่วยทำให้จมูกโล่ง (ไดมีแทป, แอคติเฟด, ไรโนพร้อนท์)
- ไม่ควรใช้เป็นเวลานาน และขณะที่ไอ มีเสมหะมาก เพราะทำให้เสมหะเหนียว โดยเฉพาะจะไม่ใช้กับเด็กที่เป็นหอบหืด จะทำให้หอบได้ง่ายขึ้น








[ที่มา..นิตยสารดวงใจพ่อแม่   ปีที่ 4 ฉบับที่ 45 กรกฎาคม 2542 ]

[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600