^ ^HM490 .............  จะได้เกรตอะไรหว่าเพื่อนๆ............. HM490 ...........                   ^,ϛ,^OoOoOooO        d d+ c c+....A

 

ข้อสอบ HM490 Final

 ฉบับปรับปรุงให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆดูข้อสอบได้ง่ายขึ้นและฮือๆ

ได้ชื่นชมกับความสามารถในการออกข้อสอบของอาจารย์เล็ก

(อยากจะร้องไห้ ฮือๆ)

 คำถามโจทย์ที่ไม่กล้าปิดบัง !!
เป็นลิขสิทธิ์ของมพย.ห้ามเผยแพร่นะค่ะ เก็บรักษากันให้ดีอย่าให้รั่วออกไปนอกวิชา HM490เด่วมีปัญหาทีหลัง

 (คุณแม่ขอร้อง)SERIOUS..SERIOUS..SERIOUS..

เมื่อสอบเสร็จแล้วหน้านี้ทำลายตัวเองภายใน 24 ชั่วโมงหลังสอบนะครับพร้อมกระทู้บางหัวข้อด้วยเพื่อความปลอดภัยของ พวกเราแลอาจารย์....

.......ข้อ1.อ่านกรณีศึกษาแล้ววิเคราะห์กันเองเพื่อจัดทำหน้าจอ..คอมพิวเตอร์หรือModelกายภาพ(PhysicalModel)..จากGraphicalModelที่กำหนดให้(35คะแนน)
ข้อ2.สรุปจำนวน.........(แล้วเจอกัน)(5คะแนน)แล้วส่งE-mail มาที่ hrm@payap.ac.th
ทำทุกข้อลงในแผ่นDisk เวลา 2 ชั่วโมง ด้วยโปรแกรมอะไรก็ได้ที่เกิดมาแล้วถนัดที่สุดและเป็นไปตาม Model นะจ๊ะ..
โชคAทุกคน .....

 

 อาจารย์ปัทมาวรรณ  สิงห์ศรี  ผู้พิมพ์และออกข้อสอบ..โจทย์ข้อ ที่ 1 และ 2 อยู่ในแผ่น Disk ที่จะได้รับในห้องสอบ

(แสดงว่าต้องเดาว่าข้อสอบจะถามว่าอะไรหว่า...)ตายแน่ตู


 

  กรณีศึกษา: ข้อสอบไล่ประจำภาคการศึกษา...ภาควิชาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์

มหาวิทยาลัยพายัพ

ข้อสอบไล่ประจำภาคการศึกษาที่ 2 (ภาคปฏิบัติ) ปีการศึกษา 2544

สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะบริหารธุรกิจ

วิชา ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ บม 490

คะแนนเต็ม 40 คะแนน เวลา 2 ชั่วโมง

สอบวันที่ 4 มีนาคม 2545 เวลา 11.30-14.30 น.


คำชี้แจง

  1. ข้อสอบมีทั้งหมด 2 ข้อ ให้ทำทุกข้อในโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  2. ให้ปฏิบัติโดยสามารถใช้ข้อมูลจาก ฐานข้อมูลประวัติ ข้อมูลตำแหน่งงาน และข้อมูลประเมินผล จากแฟ้มข้อมูล F:/PYU_database
  3. บันทึกข้อมูลที่ปฎิบัติลงในแผ่นดิกส์ที่แจกให้ในห้องสอบโดยระบุชื่อนักศึกษาตามด้วยรหัสประจำตัวนักศึกษาลงในแผ่นเก็บข้อมูล ดังตัวอย่าง A:/สมชาย-1234-51-41 (กรณีไม่บันทึกข้อมูลในแผ่นดิกส์ที่แจกให้ ให้ถือว่านักศึกษาไม่ได้ทำข้อสอบ)
  4. นักศึกษาที่กระทำการทุจริต จะได้รับอักษรระดับ คะแนน F ในทุกรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษานั้น ๆ

จงอ่านกรณีศึกษาต่อไปนี้แล้วปฏิบัติการที่เครื่องคอมพิวเตอร์

กรณีศึกษา : โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล การบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท พายัพ คอมพานี จำกัด

                        บริษัท พายัพ คอมพานี จำกัด ได้เปิดดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการเกี่ยวกับการผลิตและจัดจำหน่ายเสื้อผ้าในประเทศไทย มีพนักงานซึ่งทำหน้าที่บริหารงาน และดำเนินการ ณ สิ้นเดือน ธันวาคม 2544 จำนวน 200 คน และจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของพนักงานไว้ในแฟ้มเอกสาร

                        ในทุกๆ เดือน เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล จะต้องรวบรวมและบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ทั้งพนักงานรายเดือนประจำสำนักงาน และพนักงานรายวันประจำโรงงานผลิต เพื่อนำไปประมวลผลและจ่ายค่าจ้างเงินเดือน ซึ่งพบความยุ่งยากเป็นอย่างมากโดยเฉพาะพนักงานรายวัน ซึ่งมีพนักงานที่ปฏิบัติงานตามเวลา แบ่งออกเป็น 2 เวลา คือกะเช้า เริ่มทำงานเวลา 06.00 18.00น. และ กะดึก เวลา 18.00 – 06.00 น. ซึ่งต้องสลับกันเดือนละ 1 ครั้ง

สำหรับการคิดคำนวณค่าจ้างของพนักงานรายวันจะคิดคำนวณดังนี้คือ

    1. กะเช้า เริ่มทำงานในวันปกติโดยเริ่มตั้งแต่เวลา 06.00-14.00 น คิดค่าแรงวันละ 150 บาท หากเกินกว่า 14.00 น. คิดค่าล่วงเพิ่ม 1.5 เท่า และ 3 เท่าในวันหยุด
    2. กะดึก เริ่มทำงานในวันปกติโดยเริ่มตั้งแต่เวลา 18.00-02.00 น คิดค่าแรงวันละ 150 บาท หากเกินกว่า 02.00 น. คิดค่าล่วงเวลาคิดค่าล่วงเพิ่ม 1.5 เท่า และ 3 เท่าในวันหยุด (และเพิ่มค่ากะดึกอีกชั่วโมงละ 20 บาท)

                            สำหรับการคิดคำนวณค่าจ้างของพนักงานรายเดือน จะคิดคำนวณ ตามอัตราค่าจ้างที่ได้รับ ซึ่งพนักงานจะเข้างานตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น และคิดค่าล่วงเพิ่ม 1.5 เท่า และ 3 เท่าในวันหยุด

                            อีกทั้งบริษัทยังต้องคิดคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และหักเงินประกันสังคม และหักเงินจากการขาด ลา มาสาย ของพนักงานทุกคน ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5-7 วัน ทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมาก ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจึงได้วางแผนที่จะจัดทำ ระบบฐานข้อมูลบุคลากร

                            และนำ โปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว และมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น และจัดทำโครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล โดยเริ่มต้นที่ระบบบันทึกรายงานการปฏิบัติงาน ทะเบียนประวัติและการจ้างงาน และ ระบบค่าจ้างเงินเดือน เพื่อเสนอผู้บริหารเพื่ออนุมัติโครงการ ดังนี้ 


โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล การบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท พายัพ คอมพานี จำกัด

หลักการและเหตุผล

ในการจัดการองค์การเพื่อให้องค์การบรรลุถึงประสิทธิผล และประสิทธิภาพด้านการบริหารและจัดการ อาจกล่าวได้ว่า “ข้อมูล” (Data) เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อทุกองค์การ และองค์การที่มีการพัฒนาระบบการบริหารและจัดการข้อมูลที่ดี จะช่วยทำให้องค์การสามารถที่จะนำข้อมูลไปใช้ในด้านการบริหารและการจัดการต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                        โดยลักษณะหน้าที่ของงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล จะมีฐานะเป็นหน่วยสนับสนุนการบริหารและจัดการ ที่ช่วยสนับสนุนส่งเสริมการบริหาร และจัดการของผู้บริหาร อีกทั้งมีความเกี่ยวข้องกับการจัดการบุคคลที่มีความหลากหลาย ซับซ้อน ซึ่งมักจะก่อให้เกิดปัญหาความยุ่งยากในการบริหารจัดการ หรือควบคุมดูแลแก่ผู้บริหารมากกว่าการจัดการทรัพยากรด้านอื่น ๆ

                         การพัฒนาระบบการบริหารและจัดการข้อมูลบุคลากรในองค์การ จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของพนักงานผู้ปฏิบัติงานด้านข้อมูลบุคลากร และผู้บริหารที่มีความจำเป็นต้องใช้ระบบข้อมูลบุคลากรเพื่อพัฒนาศัยกภาพในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นผลให้เกิดการพัฒนาองค์การในลำดับต่อมา

                          กลยุทธ์ด้านการจัดระบบการจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) ที่ดีจะช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับระบบการจัดเก็บข้อมูลและการเรียกใช้งานข้อมูล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ของบริษัทฯ ซึ่งในปัจจุบันจัดทำด้วยระบบมือ (Manual)

                      และพบว่าเกิดความล่าช้า และ/หรือความผิดพลาดจากการรวบรวมข้อมูลทั้งในด้านประวัติข้อมูลลูกจ้าง-พนักงาน การบันทึกและคิดคำนวณเวลาในการทำงาน การขาดงาน การลา มาสาย หรือทำงานล่วงเวลาต่าง ๆ รวมทั้งระบบข้อมูลการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนของพนักงาน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารงานในองค์การ

ขอบข่ายงาน และการจัดทำระบบฐานข้อมูล การบริหารทรัพยากรบุคคล

                        การปรับปรุงระบบการจัดการฐานข้อมูลบุคลากร มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม และจัดเก็บข้อมูล รวมทั้งการคำนวณประมวลผลข้อมูล และจัดทำรายงาน ในด้านต่าง ๆ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Application Software

ขั้นตอนการพัฒนาระบบ

    1. ศึกษาข้อมูลเอกสาร (ภายในบริษัทฯ) และวิเคราะห์ความต้องการทางด้านระบบ
    2. จัดทำตัวแบบ(Model) และขั้นตอนการปฏิบัติงานของระบบ
    3. ออกแบบหน้าจอการปฏิบัติของงานระบบ
    4. ทดสอบการใช้งานและติดตั้งระบบ
    5. ฝึกอบรมบุคลากรฝ่ายสำนักงานและบริหารทรัพยากรบุคคล และถ่ายโอนงานเข้าสู้ระบบการบริหารงานของบริษัทฯ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ลดปัญหาด้านการบริหารและจัดการด้านข้อมูล อาทิเช่น การจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลบุคลากร การสูญหายของข้อมูล การผิดพลาดในการปฏิบัติงาน
    2. ลดเวลาในการปฏิบัติงาน หรือการทำงานซ้ำซ้อน
    3. ลดการเก็บเอกสาร หรือการส่งผ่านเอกสาร
    4. เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านบริหารและจัดการบุคลากร อาทิเช่น ความสะดวกรวดเร็วในการเก็บรวบรวมข้อมูล การคิดคำนวณ และการจัดทำรายงานต่าง ๆ
    5. สร้างระบบที่มีความปลอดภัยของข้อมูล ทั้งในด้านการจัดเก็บและเรียกใช้

จากการศึกษาระบบฐานข้อมูล การบริหารทรัพยากรบุคคลของบริษัท สามารถจัดทำตัวแบบ (Model) ได้ดังนี้

บริษัท พายัพ คอมพานี จำกัด

  

รายละเอียดการบันทึกเวลาการทำงานตามโครงสร้างตำแหน่งงานของบริษัทฯ

โครงสร้างตำแหน่งงาน

รายงานการปฏิบัติงาน

เวลาการทำงาน

หมายเหตุ

  1. กรรมการผู้จัดการ

-

08.00 – 16.00

 
  • ผู้จัดการทั่วไป
 

08.00 – 16.00

 
  • หัวหน้าฝ่าย

เวลาเข้างาน – ออกงาน

08.00 – 16.00

ประมวลผลการมาทำงานประจำเดือน

  • พนักงานรายเดือน และ พนักงานรายวัน
  1. เวลาเข้างาน – ออกงาน
  2. ค่าล่วงเวลา
  3. วันขาด / ลา / มาสาย
  1. 08.00 – 16.00
  2. ทำงานกะ

ประมวลผลการมาทำงาน วันขาด วันลา มาสาย ค่าล่วงเวลา ประจำเดือน

หมายเหตุ : บันทึกข้อมูลการมาทำงานจากบัตรบันทึกเวลา


ดูต้นฉบับได้ที่ 

http://www.oocities.org/Singhsri/final2_44.htm

http://www.oocities.org/Singhsri